ข่าวเด่นนิวส์สยามออนไลน์##ป.ป.ช. จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต (ภาคกลาง) สู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ร่วมหาสุดยอดความสำเร็จผลงานชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต

0
599

ป.ป.ช. จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต (ภาคกลาง) สู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ร่วมหาสุดยอดความสำเร็จผลงานชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต

​สำนักงาน ป.ป.ช. จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต (ภาคกลาง) สู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ระหว่างวันที่ 25 – 26 กรกฎาคม 2562 ณ โรงแรมเมธาวลัยชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 260 คน ประกอบด้วย โค้ช STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต กรรมการชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต สมาชิกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต ตลอดจนแกนนำเยาวชน STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต ในพื้นที่ภาคกลาง จำนวน 25 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร รวมถึงผู้บริหาร และเจ้าพนักงานป้องกันการทุจริต (Super coach) จากสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดในพื้นที่ ภาค 1, ภาค 2, ภาค 7 และกรุงเทพมหานคร
​กิจกรรมวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 ประกอบด้วย การกล่าวต้อนรับกรรมการ ป.ป.ช. ผู้บริหารสำนักงาน ป.ป.ช.และผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ โดย นายณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี, พิธีเปิดกิจกรรมฯ โดย นายณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการ ป.ป.ช. พร้อมมอบนโยบาย หัวข้อ “นโยบายการป้องกัน การป้องปราม ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.” กล่าวรายงานโดย นางแก้วตา ชัยมะโน ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบูรณาการ การมีส่วนร่วมต้านทุจริต, การบรรยายในหัวข้อ “ชมรม STRONG ร่วมสร้างประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติ ต้านทุจริต” โดย รศ.ดร.มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ป.ป.ช., การอภิปรายกลุ่ม หัวข้อ “รอบ 2 ปี ของโครงการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต โดย ตัวแทนสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงราย และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการอภิปรายโดย นายติณณภพ พัฒนะ เจ้าพนักงานป้องกัน การทุจริตปฏิบัติการ สำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริต, การอภิปรายกลุ่ม หัวข้อ “รอบ 1 ปี ของโครงการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต โดย ตัวแทนสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดลพบุรี จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสกลนคร จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดพัทลุง ดำเนินการอภิปรายโดย นายณัฐปกรณ์ ประเสริฐสุข เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตปฏิบัติการ สำนักเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริต
​กิจกรรมวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 ประกอบด้วย การบรรยายในหัวข้อ “โครงการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต ในปีต่อไป ร่วมสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต” โดย นายอุทิศ บัวศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. และการนำเสนอผลการอภิปรายกลุ่ม หัวข้อ “ความก้าวหน้าและความสำเร็จของงาน STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต” ซึ่งมีตัวแทนชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดอ่างทอง จังหวัดตราด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพมหานคร ขึ้นเวทีนำเสนอความก้าวหน้าและความสำเร็จในการดำเนินงานของชมรมฯดำเนินการอภิปราย โดย ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริต
​การจัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต (ภาคกลาง) สู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตครั้งนี้ ถือเป็นกิจกรรมหนึ่ง ภายใต้โครงการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันการป้องกันการทุจริตเชิงรุก ด้วยการสร้างเสริมให้บุคคลและชุมชนมีจิตพอเพียงต้านทุจริตด้วยกรอบ STRONG จนกระทั่งพัฒนาเป็นวัฒนธรรมต้านทุจริต ทั้งนี้ เพื่อปลูกฝังจิตพอเพียงต้านทุจริต

-2-ด้วยโมเดล STRONG แก่ประชาชนและทุกภาคส่วนในจังหวัด เพื่อปลูกฝังวิธีคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งความอายและไม่ทนต่อการทุจริตแก่ประชาชนและทุกภาคส่วนในจังหวัด เพื่อขยายผลการป้องกันการทุจริตเชิงรุก ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วนในจังหวัด เพื่อขยายผลการรับรู้การทุจริตต่อประชาชนและทุกภาคส่วนในจังหวัด และร่วมมือกับองค์กรต่างๆ หรือชมรมอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์ในการต่อต้านการทุจริต รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ โดยไม่ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมือง
​โครงการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต ถือเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจด้านป้องกันการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสอดคล้องตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งกำหนดหน้าที่และอำนาจแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เกี่ยวกับภารกิจการป้องกันการทุจริต ด้วยกลไกที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
​1. การกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริต
​2. การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
​3. การป้องกันเหตุที่อาจนำไปสู่การทุจริตหรือส่อว่าอาจมีการทุจริต
เกี่ยวกับการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจตามมาตรา 33 มุ่งเน้นการส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตด้วยการกำหนดมาตรการและกลไกที่จำเป็นต่อการดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวกัน เพื่อมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้ความรู้ ต่อต้าน หรือชี้เบาะแส โดยได้รับความคุ้มครอง รวมทั้งจัดให้มีช่องทางการแจ้งข้อมูล เบาะแส หรือพยานหลักฐานสำหรับการกระทำความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยช่องทางดังกล่าวต้องมีวิธีการที่ง่าย สะดวก ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก และไม่ก่อผลร้ายกับผู้แจ้งดังกล่าว รวมทั้งดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต ตลอดจนเสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับอันตรายของการทุจริต รวมถึงค่านิยมที่เน้นการพึ่งพาระบบอุปถัมภ์ในสังคม เพื่อให้เกิดการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ ยังต้องรับฟังข้อเสนอแนะจากประชาชนเพื่อนำไปปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย

ขอบคุณภาพข่าว สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย

เสริม ศักดิ์สม รายงาน

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here