ข่าวเด่นนิวส์สยามออนไลน์##ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ศูนย์บัญชาการทางทหาร กองบัญชาการ กองทัพไทย เปิดปฏิบัติการรวงผึ้ง 2022 ทำลายทุ่นระเบิดสมรภูมิการสู้รบในอดีต คืนพื้นที่ปลอดภัยให้ชาวบ้านได้ใช้ ประโยชน์

0
589

ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ศูนย์บัญชาการทางทหาร กองบัญชาการ กองทัพไทย เปิดปฏิบัติการรวงผึ้ง 2022 ทำลายทุ่นระเบิดสมรภูมิการสู้รบในอดีต คืนพื้นที่ปลอดภัยให้ชาวบ้านได้ใช้ ประโยชน์
การปฏิบัติการรวงผึ้ง 2022 เป็นภารกิจปฏิบัติงานปรับลดพื้นที่อันตรายที่ ได้รับการยืนยันว่ามีทุ่นระเบิด
ในพื้นที่รวงผึ้ง ต.โดมประดิษฐ์ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นสมรภูมิรบใน อดีต ที่ได้มีการสู้รบกันเกิดขึ้นตลอดแนวชายแดน บริเวณพื้นที่ช่องบกถึงช่อง อานม้า จากการสู้รบดังกล่าวทำให้ยังคงเหลือ ทุ่นระเบิดที่ยังไม่ระเบิดและเป็น อันตรายในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของพี่น้อง ประชาชนในพื้นที่ โดยการปฏิบัติการรวงผึ้ง 2022 เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ ตามอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ฯ ที่ประเทศไทยได้ลงนามในข้อ ตกลงไว้ตั้งแต่ปี 2540
ผลการสำรวจพื้นที่ ในปี 2562 – 2563 ของ หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิด ด้านมนุษยธรรมที่ 3 (นปท.3) และ สมาคมผู้เก็บกู้ทุ่นระเบิดพลเรือนไทย (Thai Civilian Deminer Association : TDA) พบว่า มีพื้นที่อันตรายที่ได้รับการยืนยัน ว่ามีทุ่นระเบิดตกค้างในพื้นที่รวงผึ้ง จำนวน 41 พื้นที่ มีขนาด 73 ตร.กม. โดย เป็นพื้นที่ๆสามารถใช้การเดินเท้าเข้าดำเนินการเก็บกู้ฯได้จำนวน 21 พื้นที่และ พื้นที่ เข้าถึงได้ยากลำบาก เนื่องจากเป็นภูเขาสูง อยู่ห่างไกล ไม่มีเส้นทาง รถยนต์ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์และไม่มีแหล่งน้ำในพื้นที่ จำนวน 20 พื้นที่ ผบ.ทสส.จึงได้กรุณาอนุมัติให้มีการใช้อากาศยาน เฮลิคอปเตอร์สนับสนุนการ ปฏิบัติการเก็บกู้ในพ.ท.รวงผึ้ง ขึ้น เป็นครั้งที่1 ในปี 2563 เรียกว่า “ปฏิบัติการ รวงผึ้ง 2020” ซึ่งสามารถทำการเก็บกู้ ฯและปรับลดพื้นที่อันตราย ได้จำนวน 11 พื้นที่ ขนาด 29.7 ตร.กม.โดยยังไม่แล้วเสร็จ อีก 9 พื้นที่ ในปี 2565 จึง เป็นการปฏิบัติงานเก็บกู้ ฯ ในพ.ท.รวงผึ้ง ครั้งที่ 2 จำนวน 9 พื้นที่ ขนาด 0.79 ตร.กม.ที่ต้องปฏิบัติให้แล้วเสร็จ ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาในการเก็บกู้ ประมาณ 1 เดือน ตั้งแต่ 25 ม.ค.-25 ก.พ.65 โดยจัดตั้งกองอำนวยการร่วม ปฏิบัติการเก็บกู้ระเบิดในพื้นที่รวงผึ้ง(กอร.ปทร.) และแบ่งขั้นการปฏิบัติการ ออกเป็น 3 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นการเตรียมความพร้อมและทดสอบแผนการปฏิบัติ (ตั้งแต่ 25-28 ม.ค.65) ขั้นการปฏิบัติการเก็บกู้ ฯ(ตั้งแต่ 29 ม.ค.-24 ก.พ.65)และขั้นการสรุปประเมินผลการปฏิบัติ ที่กำหนดในห้วงระหว่างที่เสร็จสิ้นการ ปฏิบัติการเก็บกู้ในแต่ละพื้นที่และสรุปผล การปฏิบัติการรวงผึ้ง 2022 ในวันที่ 25 ก.พ.65 สำหรับพื้นที่ๆสามารถใช้การเดินเท้าเข้าดำเนินการเก็บกู้ฯได้ จำนวน 21 พื้นที่ ได้ถูกบรรจุอยู่ในแผนการปฏิบัติการเก็บกู้ในปี 2565 ของ หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 3 (นปท.3) เป็นที่เรียบร้อย
การปฏิบัติที่ผ่านมาของ การปฏิบัติการรวงผึ้ง 2022
25ม.ค.65 –เดินทางโดยขบวนรถและเฮลิคอปเตอร์412จากกทม.-
จว.อุบล

  • ตรวจ พ.ท.ทำสนาม ฮ.(จุดส่งลง) โดย ฮท.412 26 ม.ค.65 – จัดตั้ง กอร.ปทร. ณ อบต.โดมประดิษฐ์ (เดิม)
  • ฝึกปฏิบัติการลงสู่พื้นด้วยวิธีใช้เชือกโรยตัวลงจากฮ.ให้ กับ ชุดปรับปรุงสนาม ฮ.
  • ส่งชุดปรับปรุงสนาม ฮ. จำนวน 5 ชุด เข้าพื้นที่โดย ฮท.412 – ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจแผนการปฏิบัติงานให้กับหน่วย
    งานที่ร่วมการปฏิบัติการรวงผึ้ง 2022
    27 ม.ค.65 – ซักซ้อมการดำเนินการส่งกลับสายแพทย์ กรณีฉุกเฉินทาง
    ฮ.กับ รพ.น้ำยืน ฮท.412
  • รับชุดปรับปรุงสนาม ฮ. จำนวน 5 ชุด กลับจากพื้นที่โดย 28 ม.ค.65 – ตรวจร่างกายและตรวจ ATK ของชุดปฏิบัติการเก็บกู้ ฯ โดยเจ้าหน้าที่จาก ร.พ.ค่ายสรรพสิทธิประสงค์
  • พล.ท.กนิษฐชมะนันทน์ผอ.ศทช.ศบท.เดินทางมาตรวจเยี่ยม และร่วมตรวจความพร้อมของกำลังพลและยุทโปกรณ์กิอนเข้าปฏิบัติการใน พื้นที่รวงผึ้ง
  • ซักซ้อมการปฏิบัติและทดสอบแผนการบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ของชุดปฏิบัติการเก็บกู้ ฯ 29 ม.ค.65 – กระทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก่อนเข้าพื้นที่ปฏิบัติการ
  • ส่งกำลังพลชุดปฏิบัติการเก็บกู้ ฯเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน โดย
    ฮท.412
    การปฏิบัติการรวงผึ้ง 2022 เป็นการบูรณาการร่วมมือจากหลายส่วน ราชการที่เกี่ยวข้องได้แก่ศูนย์ปฏิบัติการ ทุ่นระเบิดแห่งชาติ ,หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่3 , สมาคมผู้ เก็บกู้ทุ่นระเบิดพลเรือนไทย (TDA), 
กรมแผนที่ทหารในการสนับสนุนอากาศยาน (เฮลิคอปเตอร์) รวมทั้งการ สนับสนุน อำนวยความสะดวกในพื้นที่ 
จากโรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์, โรงพยาบาลน้ำยืน และองค์การ บริหารส่วนตำบลโดมประดิษฐ์ ซึ่งเป็น
การแสดงออกให้เห็นถึงบทบาทของประเทศไทยในการดำเนินการตามข้อ ตกลงในอนุสัญญา ฯ ตลอดจนเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อนานาชาติ ในการ ปฏิบัติภารกิจด้านการเก็บกู้ทุ่นระเบิดของไทย และจะนำไปสู่ความมั่นใจของพี่ น้องประชาชนในการดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัยในพื้นที่อย่างยั่งยืนเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพอย่างเต็มที่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here