
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 7 อุบลราชธานี จัดโครงการอุบลโมเดลนำร่องการพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานสู่มาตรฐานสากล ยกระดับศักยภาพ ทักษะและสมรรถนะแรงงานให้มีคุณภาพมาตรฐาน

วันที่ 11 มีนาคม 2565 ณ.สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 7 อุบลราชธานี จัดโครงการอุบลโมเดลนำร่องการพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานสู่มาตรฐานสากล เป็นโครงการที่ยกระดับศักยภาพ ทักษะและสมรรถนะของคนในช่วงวัยทำงานให้มีคุณภาพมาตรฐานสอดคล้องกับความสามารถเฉพาะบุคคลและความต้องการของตลาดแรงงาน รวมทั้งเทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทักษะแรงงานฝีมือด้วยเทคโนโลยี เป็นฐานต่อยอดความรู้ไปสู่การสร้างสรรค์งานใหม่ๆ อันจะช่วยสร้างโอกาสและทางเลือกในการทำงานให้มากขึ้น และยังเป็นกลไกตอบสนองแนวนโยบายของรัฐบาลในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของคนไทย โดยบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน


สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 7 อุบลราชธานี จึงได้จัดโครงการอุบลโมเดลนำร่องในการพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานสู่มาตรฐานสากล เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนากำลังแรงงานไทยให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะฝีมือสูงขึ้น มีมาตรฐานฝีมือแรงงาน สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี โดยมีพิธีเปิด 1 จังหวัด 1 โครงการ ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 7 อุบลราชธานี มีนายเจษฎา จันทร์อุไร ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 7 อุบลราชธานี เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยมีนางจิรวรรณ สุตสุนทร ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นประธานในพิธี นอกจากนั้นยังมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาแรงงานให้กับผู้ปฏิบัติงานในระบบจำหน่ายไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ระหว่าง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุบลราชธานี กับ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 7 อุบลราชธานี พร้อมเปิดสถานีทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ 1 โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุบลราชธานีให้การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการจัดตั้งสถานีทดสอบในครั้งนี้
โครงการอุบลโมเดลฯ มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน สนับสนุนวิทยากร วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือฝึกอบรม และส่งเสริมการจ้างงาน อาทิ บริษัท จรุงไทยไวร์แอนด์เคเบิ้ล จำกัด (มหาชน) สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย บริษัท นิปปอนเพนต์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท พาราโค้ทติ้ง จำกัด บริษัท ไทยฮวด จำกัด บริษัท แซง-โกแบ็ง เวเบอร์ จำกัด และบริษัท ภัทรเมธากิจ จำกัด นอกจากนี้ยังร่วมมือกับภาคการศึกษาในการผลิตและพัฒนากำลังแรงงานใหม่ พัฒนานักศึกษาชั้นปีสุดท้ายให้มีมาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการและให้เกิดการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน หลังจากนั้น นางจิรวรรณ สุตสุนทร ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มอบประกาศนียบัตรให้ผู้แข่งขันและกรรมการ
การแข่งขัน 2021 Arc Cup International Welding Competition จากนั้นยังได้เดินชมบูธของบริษัทต่างๆและชมการสาธิตการแก้ปัญหาของช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ที่สาธิตถึงวิธีการแก้ปัญหาเมื่อเกิดอุบัติในขณะปฎิบัติหน้าที่ อยู่บนที่สุง



