
เลขานุการนายก อบจ.เชียงราย เปิดโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งอุทกภัย ลำห้วยป่าแฮด มีชาวบ้าน นักเรียน และอีกหลายหน่วยงานในพื้นที่พร้อมใจกันเข้าร่วม

ลำห้วยป่าแฮดอยู่ในพื้นที่บ้านโจ้โก้ หมู่ที่ 5 ตำบลตับเต่า อ.เทิง จ.เชียงราย เป็นลำห้วยที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวบ้านโจ้โก้ ชาวบ้านต้นเขือง และชาวบ้านที่มีพื้นที่ใกล้เคียงมาเป็นเวลาหลายช่วงอายุคน ช่วงฤดูฝนน้ำจากห้วยป่าแฮดจะไหลหลาก แต่ช่วงฤดูแล้งน้ำห้วยป่าแฮดจะแห้งขอดเป็นวังวนแบบนี้มาหลายช่วงอายุคน ทำให้ชาวบ้านขาดโอกาศในการใช้น้ำทำการเกษตร และประมง เพราะห้วยป่าแฮดไม่มีอ่างกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง วันนี้ 17 มกราคม 2566 นายสมนึก ใจจักร์ เลขานุการนายก อบจ.เชียงราย ได้รับมอบหมายจาก นางอทิตาธร วันไชยธนวงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งอุทกภัย ลำห้วยป่าแฮด หรือโครงการฝายมีชีวิต โดยมีนายกิตตินันท์ รู้พอ ผู้ใหญ่บ้านโจ้โก้ หมู่ที่ 5 ต.ตับเต่า อ.เทิง จ.เชียงราย เป็นผู้กล่าวรายงาน มีกองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบจ.เชียงราย”กำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ตำบลตับเต่า “ประธานสภาพร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ อบต.ตับเต่า “สมาคมทหารผ่านศึก” กศน.ตำบลตับเต่า “ผอ.คณะครู นักเรียน โรงเรียนบ้านต้นเขืองโจ้โก้สามัคคี “ทหารพราน 3105 “ทหาร ชป.กร.315 “ทหารชุดโครงการพระราชดำริ “ทหาร ชพส.3215 “ตัวแทนประชาชนพร้อมคณะกรรมการ บ้านต้นเขือง ม.4 “ประชาชนชาวบ้านโจ้โก้ ม.5 มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 200 คน

ฝายมีชีวิต คือ ฝายน้ำล้นเพื่อใช้แก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย เป็นการสร้างฝายที่มีโครงสร้างของฝายทำมาจากวัสดุธรรมชาติใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ และนําไม้ไผ่ไปปักลงในลําน้ำ เสมือนเสาเข็มเรียงกัน ผูกด้วยเชือก เพื่อยึดโยงเข้าด้วยกัน สําหรับตัวฝายกันน้ำจะใช้ทรายหรือดินบรรจุใส่กระสอบ วางเรียงซ้อนกัน การสร้างฝายมีชีวิต เป็นการยกระดับน้ำขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำและเป็นฝายน้ำล้นที่น้ำจะไหลผ่านฝาย ตลอดเวลา
ฝายมีชีวิต เป็นแนวคิดการฟื้นฟูระบบนิเวศของพื้นที่ป่าโดยรวมและแก้ปัญหาการจัดการน้ำ ของชุมชนเอง ในช่วงฤดูฝน ฝายมีชีวิตจะช่วยชะลอการไหลของน้ำไปยังพื้นที่กลางน้ำและปลายน้ำ ให้สามารถระบายน้ำได้ทัน เพื่อลดปัญหาน้ำท่วม แต่ในช่วงฤดูแล้ง ฝายมีชีวิตจะช่วยยกระดับน้ำให้สูงขึ้นทําให้ชุมชนมีน้ำไว้อุปโภคบริโภค ตลอดช่วงฤดูแล้ง และรักษาความชุ่มชื่นให้ระบบนิเวศ ทําให้น้ำมีเวลาซึมลงสู่ใต้ดินได้ลึก เป็นการช่วยเติม น้ำใต้ดิน น้ำบาดาน บ่อน้ำตื้นที่เคยแห้งเหือดให้กลับมามีน้ำมากขึ้น ฝายมีชีวิตสามารถสร้างวังน้ำตามธรรมชาติได้ ไม่ตัดวงจรทางระบบนิเวศ โดยปลาหรือสัตว์น้ำ สามารถขึ้นมาวางไข่ที่ต้นน้ำได้ และฝายมีชีวิตยังช่วยสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในชุมชนอย่างยั่งยืน จากการร่วมแรงร่วมใจกันในการสร้างและบํารุงรักษา เมื่อดิน น้ำป่าสมบูรณ์ ฝายมีชีวิตจะสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง สร้างคุณภาพชีวิตให้คนในชุมชนอย่างยั่งยืน








เสริม ศักดิ์สม รายงาน
