
UN-REDD ร่วมกับกรมป่าไม้นำสื่อมวลชน ติดตามและเยี่ยมชมศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบการดูแลอนุรักษ์ไม้พะยุง บ้านแปดอุ้ม จ.อุบลราชธานี

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ณ.วัดป่าแปดอุ้มเจริญธรรม บ้านแปดอุ้ม ต.โดมประดิษฐ์ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี
UN-REDD ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก
การตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา โครงการนี้เป็นโครงการหลัก
ของ UN knowedge and advisory platform เกี่ยวกับการแก้ปัญหาป่าไม้เพื่อรับมือกับวิกฤตการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากความสามารถและความเชี่ยวชาญทางเทคนิคขององค์การอาหารและ
เกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และ UNEP ทำให้ UN-
REDD เป็นผู้ให้บริการระหว่างประเทศรายใหญ่ที่สุดของความช่วยเหลือ REDD + โดยช่วยเหลือประเทศ
พันธมิตร 65 ประเทศ ในการปกป้องผืนป่า เพื่อบรรลุเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศ นำสื่อมวลชนจากส่วนภูมิภาคและสื่อมวลชนจากส่วนกลางลงพื้นที่ บ้านแปดอุ้ม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี จากหลายปีที่ผ่านมาพื้นที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีไม้พะยุงขึ้นหนาแนนความต้องการไม้พะยูงจากต่างประเทศ( จีน) มีปริมาณมากทำให้เกิดการลักลอบตัดไม้พะยูง จนถึงขนาดมีการปล้นเอาต้นไม้พะยูงกัน โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีต้นไม้พะยูงจำนวนมากและถูกลักลอบตัดโค่น จนเหลือจำนวนน้อย และชาวบ้านได้ออกมาช่วยกันปกป้องรักษาไม้พะยูง ซึ่งแม้ปัจจุบันความต้องการไม้พะยูงจากต่างประเทศ(จีน) จะลดลง แต่ความต้องการผลิตภัณฑ์จากไม้ยังเพิ่มขึ้นจาก 70% เป็น 90%. (ข้อมูล: UN-REDD)
ความรุนแรงของการลักลอบตัดไม้พะยูงในพื้นที่อำเภอน้ำยืนยังมีมาก บ้านแปดอุ้ม ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายและมีความรุนแรงของการโจรกรรม ถึงขั้นการใช้กำลังเข้าชิงต้นพะยูง จากขบวนการกลุ่มพ่อค้าไม้พะยูง จนชาวบ้านได้ออกมารวมตัวในการปกป้องผืนป่า โดยเฉพาะผืนป่าผืนสุดท้ายในบริเวณวัดป่าแปดอุ้มเจริญธรรม ที่ยังมีต้นพะยูง ที่ยังหลงเหลือโดยที่อื่นๆแม้แต่บนภูเขาถูกลักลอบตัดโค่นจนไม่เหลือ


โดยชาวบ้านได้ตั้งกลุ่มอาสาสมัครรักษาป่าพะยูง บ้านแปดอุ้ม มีการจัดเวรยามเฝ้าป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า และปกป้องไม้พะยูงให้คงอยู่ โดยต่อมา UN-REDD ได้ร่วมกับกรมป่าไม้และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เข้าให้การสนับสนุน และให้เป็นพื้นที่ต้นแบบการจัดการป่าอย่างยั่งยืน สนับสนุนนำแอพพลิเคชั่น พิทักษ์ไพร แพลตฟอร์ม e-Tree และ NCAPS เข้ามาใช้ โดยเฉพาะเทคโนโลยี NCAPS ซึ่งเป็นระบบการทำงานระยะไกล เดิมใช้ติดตั้งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์เพื่อการตรวจติดตามสัตว์ป่า มาใช้เพื่อการตรวจจับบุคคลเพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้พะยูง. ซึ่งจะแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือคณะกรรมการรักษาป่าและสามารถเก็บภาพไว้เป็นหลักฐาน โดยกรรมการรักษาป่าเป็นผู้บริหารจัดการได้เอง และรายงานถึงเจ้าหน้าที่ป่าไม้ผ่านแอพพลิเคชั่น พิทักษ์ไพรได้อย่างทันทีเมื่อเกิดเหตุ. โดยระบบนี้ UN-REDD ได้สนับสนุนจำนวน 4ตัว เป็นการใช้เพื่อการป้องกันรักษาไม้พะยูงแห่งแรกของประเทศ โดยที่ป่าทุ่งใหญ่จังหวัดศรีสะเกษ เป็นอีกแห่งที่ติดตั้งเพื่อสอดส่องและเก็บหลักฐานการนำขยะไปลักลอบทิ้งในเขตป่า
นายจงสถิตย์. อังวิทยาธร ผู้ประสานงานความร่วมมือโครงการ, ความยั่งยืนของผืนป่า ในภูมิภาคแม่น้ำโขงตอนล่าง UN-REDD กล่าวว่าการใช้กล้อง NCAPS นำมาใช้เพื่อติดตามการคุกคามป่าไม้ เป็นการใช้นำร่องครั้งแรกที่ป่าแปดอุ้ม เนื่องจากเป็นผืนป่าที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และมีความเสี่ยงในการลักลอบตัดไม้พะยูงที่ผ่านมา เมื่อติดกล้องสามารถช่วยให้ชาวบ้านมอนิเตอร์ไม้พะยูง และเก็บภาพเพื่อใช้ประกอบการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด และที่สำคัญคือลดความรุนแรงระหว่างอาสาสมัครรักษาป่า และผู้บุกรุกป่าให้เกิดการปะทะกันน้อยลง
นายชุตินันท์ วิลานันท์ ประธานชมรมอาสาสมัครรักษาป่าบ้านแปดอุ้ม กล่าวว่าเดิมปัญหาการโจรกรรมไม้พะยูงหนักหน่วงมาก พอได้มีการติดกล้อง ปัญหาบรรเทาลงบ้าง ที่ผ่านมาก่อนมีการติดกล้องเกือบทุกคืนต้องมีการไล่กันเกือบทุกคืนแทบไม่ได้หลับนอน. พอมีการติดกล้องทำให้รู้เมื่อมีคนบุกรุก และประเมินจำนวนคนได้รู้่ว่ากลุ่มเข้ามาโจรกรรมไม้มีกี่คน มีการนำอาวุธมาด้วยหรือไม่ นายชุตินันท์ กล่าว่าช่วงนี้เป็นหน้าฝนฝนตก ทำให้การดูแลเข้าเวรยามมีจุดอ่อนชาวบ้านพากันไปทำนา ทำให้พวกขบวนการลักลอบตัดไม้พะยูงฉวยโอกาส ซึ่งมีกล้องสามารถช่วยได้บ้าง
นายบุญทัน. พรมโคตร. ผู้ใหญ่บ้านบ้านแปดอุ้มหมู่ที่ 17 กล่าวถึงสถานการณ์ลักลอบขนไม่พะยูงในเขตป่าอุทยาน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม ว่าความรุนแรงน้อยเพราะไม้พะยูงถูกลักลอบตัดไม่เหลือ เหลือเพียงต้นเล็กๆ ส่วนในเขตป่าชุมชนของหมู่ 17บ้านแปดอุ้ม ยังมีความรุนแรง ยังมีความต้องการของขบวนการลักลอบตัดไม้พะยูงตลอดเวลา นายบุญทันยอมรับว่าอาจจะมีคนในชุมชนเป็นคนชี้เป้าให้ขบวนการลักตัดไม้พะยูง และแฝงตัวเข้ามาเฝ้าเวรยามกับอาสาสมัครรักษาป่า คอยรายงานความเคลื่อนไหวของอาสาสมัครให้กับกลุ่มคนรา้ย ซึ่งนายบุญทันบอกว่า ยอมรับว่ามียาเสพติดเข้ามาเกี่ยวข้องโดยขบวนการตัดไม้ นำยาเสพติดเข้ามาเป็นตัวล่อ จึงอยากให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงได้เข้ามาช่วยในส่วนนี้ โดยเฉพาะป่าบ้านแปดอุ้มน่าจะเป็นจุดเดียวที่ยังมีไม้พะยูงเหลือในขณะนี้




