ข่าวเด่นนิวส์สยามออนไลน์#นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษคิดค้นผลิตเครื่องวัดความแก่-อ่อน ของทุเรียนสำเร็จ

0
5917

นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษคิดค้นผลิตเครื่องวัดความแก่-อ่อน ของทุเรียนสำเร็จ

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 ณ.วิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษณ์ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ นางสาววิภาวรรณ สีแดด รองผู้อำนวยการวิทยาลัยกันทรลักษณ์ อำเภอกันทรลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ นำนักศึกษาโชว์ผลงานความสำเร็จในการคิดค้นอุปกรณ์วัดความอ่อน-แก่ของทุเรียน
อำเภอกันทรลักษณ์ ขึ้นชื่อว่าเป็นพื้นที่ทุเรียนภูเขาไฟ ที่เปลือกบาง เนื้อกรอบนอก นุ่มใน กลิ่นไม่ฉุน มีรสชาติอร่อยเป็นที่ีต้องการของผู้ชื่นชอบการบริโภคทุเรียนที่ต่างก็ซื้อหากันมารับประทาน ซึ่งการเก็บทุเรียนเป็นปัญหาของเกษตรกรชาวสวนทุเรียนในการเลือกเก็บทุเรียนที่มีความแก่พอดี พอเหมาะต่อการส่งทุเรียนออกสู่ตลาด นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษณ์ จึงนำปัญหามาคิดค้นสิ่งประดิษฐ์จนประสบผลสำเร็จในการคิดค้นเครื่องวัดผลทุเรียน จนได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งที่ 34 ประเภทที่ 1 เป็นตัวแทนภาคเข้าประกวดระดับชาติ โดยนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษณ์ ทีมผลิตเครื่องวัดความแก่-อ่อน ทุเรียน ได้สาธิตและอธิบายถึงประสิทธิภาพอุปกรณ์วัดความแก่-อ่อน ของทุเรียน NIR KTL -TC01 ซึ่งกลุ่มนักศึกษาได้ประมวลความรู้ที่ได้ศึกษาทางภาคทฤษฎี นำมาคิดค้นประดิษฐ์ สิ่งประดิษฐ์เพื่อสนับสนุนแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรในพื้นที่ที่ตั้งของวิทยาลัยโดยเฉพาะ ปัญหาการคัดเลือกเก็บผลผลิตทุเรียน ซึ่งเกษตรกรสวนทุเรียนยังอาศัยการเก็บผลทุเรียนโดยใช้ประสบการณ์ ซึ่งบ่อยครั้งที่ชาวสวนเก็บผลทุเรียนอ่อนเกินไป ทำให้เกิดผลเสีย ผู้บริโภคได้ทุเรียนอ่อนไม่มีคุณภาพ ซึ่งการประดิษฐ์เครื่องวัดความแก่-อ่อน ทุเรียน NIR KTL -TC01 กลุ่มนักศึกษาได้ใช้เทคนิค NIR Spectroscopy ย่านความถี่ 840 นาโนเมตร ในการวัด หาปริมาณความชื้นซึ่งสามารถวัดได้ทั้งที่ก้านทุเรียน และเปลือกทุเรียน ทำให้วิเคราะห์ความแก่-อ่อน ทุเรียนได้อย่างแม่นยำ
​​​นส.สุปราณี วงศ์เสน่ห์ นักศึกษาชั้น ปว.ส.1 หัวหน้าทีมประดิษฐ์กล่าวว่าที่ผ่านมาเกษตรกรจะเก็บผลทุเรียนโดยการนับวันออกดอก 120 วัน,การเคาะฟังเสีย และการดูสีของเปลือกและผลของทุเรียน กลุ่มผู้ประดิษฐ์ได้คิดค้นอุปกรณ์นี้ขึ้น ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาและลดความเสียหายต่อผลผลิตของเกษตรกร ซึ่งอุปกรณ์วัดความอ่อน-แก่ ของผลทุเรียนสรา้งความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการเก็บทุเรียนเพราะผลออกมาแม่นยำ นางสาววิภาวรรณ สีแดด รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษ์กล่าวว่า ที่ผ่านมาวิทยาลัยได้ส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์เข้าแข่งระดับอาชีวะศึกษาจังหวัด 11 ผลงาน และผ่านเข้าระดับภาค 4 ผลงาน โดยได้ผ่านเข้าประกวดระดับชาติ 1 ผลงานคือเครื่องวัดความแก่-อ่อน ทุเรียน NIR KTL -TC01 ซึ่งผลงานประดิษฐ์ที่ถือว่าได้มากกว่าความสำเร็จรางวัลที่ได้รับคือนักเรียน-นักศึีกษา นำไปใช้ในการพัฒนาวิชาชีพที่ได้เรียนมาได้ ด้านนายคฑาชัย ศีลให้อยู่สุข เกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียนบ้านซำตารมย์ อำเภอกันทรลักษ์ ซึ่งร่วมมือกับวิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษณ์ ในการผลิตเครื่องวัดความแก่-อ่อนทุเรียน กล่าวว่าที่ผ่านมาการเก็บทุเรียนเกษตรกรชาวสวนอาศัยประสบการณ์ดูสีผลทุเรียน แล้วกรีดดูภายในผลทุเรียนว่ามีความพอดีในการเก็บหรือไม่ แล้วนำไปเปรียบเทียบกับผลอื่นๆ เพื่อทำการเก็บ หรืออาศัยการเคาะฟังเสียง ซึ่งเครื่องที่นักศึกษาประดิษฐ์ขึ้นมานี้จะช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องกรีดผลทุุเรียน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทุเรียน ซึ่งภาพรวมถือว่้าเป็นผลดีแก่เกษตรกร ที่ไม่ต้องปีนขึ้นเพื่อผูกเชือกแต้มสีหมายให้ทราบว่าทุเรียนลูกไหนเกิดก่อนเกิดหลัง นายคฑาชัยยังได้ขอบคุณผู้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องนี้ขึ้นมา โดยจะช่วยให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนสะดวกในการเลือกตัดเก็บผลทุเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษคิดค้นผลิตเครื่องวัดความแก่-อ่อน ของทุเรียนสำเร็จ
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 ณ.วิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษณ์ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ นางสาววิภาวรรณ สีแดด รองผู้อำนวยการวิทยาลัยกันทรลักษณ์ อำเภอกันทรลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ นำนักศึกษาโชว์ผลงานความสำเร็จในการคิดค้นอุปกรณ์วัดความอ่อน-แก่ของทุเรียน
อำเภอกันทรลักษณ์ ขึ้นชื่อว่าเป็นพื้นที่ทุเรียนภูเขาไฟ ที่เปลือกบาง เนื้อกรอบนอก นุ่มใน กลิ่นไม่ฉุน มีรสชาติอร่อยเป็นที่ีต้องการของผู้ชื่นชอบการบริโภคทุเรียนที่ต่างก็ซื้อหากันมารับประทาน ซึ่งการเก็บทุเรียนเป็นปัญหาของเกษตรกรชาวสวนทุเรียนในการเลือกเก็บทุเรียนที่มีความแก่พอดี พอเหมาะต่อการส่งทุเรียนออกสู่ตลาด นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษณ์ จึงนำปัญหามาคิดค้นสิ่งประดิษฐ์จนประสบผลสำเร็จในการคิดค้นเครื่องวัดผลทุเรียน จนได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งที่ 34 ประเภทที่ 1 เป็นตัวแทนภาคเข้าประกวดระดับชาติ โดยนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษณ์ ทีมผลิตเครื่องวัดความแก่-อ่อน ทุเรียน ได้สาธิตและอธิบายถึงประสิทธิภาพอุปกรณ์วัดความแก่-อ่อน ของทุเรียน NIR KTL -TC01 ซึ่งกลุ่มนักศึกษาได้ประมวลความรู้ที่ได้ศึกษาทางภาคทฤษฎี นำมาคิดค้นประดิษฐ์ สิ่งประดิษฐ์เพื่อสนับสนุนแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรในพื้นที่ที่ตั้งของวิทยาลัยโดยเฉพาะ ปัญหาการคัดเลือกเก็บผลผลิตทุเรียน ซึ่งเกษตรกรสวนทุเรียนยังอาศัยการเก็บผลทุเรียนโดยใช้ประสบการณ์ ซึ่งบ่อยครั้งที่ชาวสวนเก็บผลทุเรียนอ่อนเกินไป ทำให้เกิดผลเสีย ผู้บริโภคได้ทุเรียนอ่อนไม่มีคุณภาพ ซึ่งการประดิษฐ์เครื่องวัดความแก่-อ่อน ทุเรียน NIR KTL -TC01 กลุ่มนักศึกษาได้ใช้เทคนิค NIR Spectroscopy ย่านความถี่ 840 นาโนเมตร ในการวัด หาปริมาณความชื้นซึ่งสามารถวัดได้ทั้งที่ก้านทุเรียน และเปลือกทุเรียน ทำให้วิเคราะห์ความแก่-อ่อน ทุเรียนได้อย่างแม่นยำ

นส.สุปราณี วงศ์เสน่ห์ นักศึกษาชั้น ปว.ส.1 หัวหน้าทีมประดิษฐ์กล่าวว่าที่ผ่านมาเกษตรกรจะเก็บผลทุเรียนโดยการนับวันออกดอก 120 วัน,การเคาะฟังเสีย และการดูสีของเปลือกและผลของทุเรียน กลุ่มผู้ประดิษฐ์ได้คิดค้นอุปกรณ์นี้ขึ้น ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาและลดความเสียหายต่อผลผลิตของเกษตรกร ซึ่งอุปกรณ์วัดความอ่อน-แก่ ของผลทุเรียนสรา้งความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการเก็บทุเรียนเพราะผลออกมาแม่นยำ นางสาววิภาวรรณ สีแดด รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษ์กล่าวว่า ที่ผ่านมาวิทยาลัยได้ส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์เข้าแข่งระดับอาชีวะศึกษาจังหวัด 11 ผลงาน และผ่านเข้าระดับภาค 4 ผลงาน โดยได้ผ่านเข้าประกวดระดับชาติ 1 ผลงานคือเครื่องวัดความแก่-อ่อน ทุเรียน NIR KTL -TC01 ซึ่งผลงานประดิษฐ์ที่ถือว่าได้มากกว่าความสำเร็จรางวัลที่ได้รับคือนักเรียน-นักศึีกษา นำไปใช้ในการพัฒนาวิชาชีพที่ได้เรียนมาได้ ด้านนายคฑาชัย ศีลให้อยู่สุข เกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียนบ้านซำตารมย์ อำเภอกันทรลักษ์ ซึ่งร่วมมือกับวิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษณ์ ในการผลิตเครื่องวัดความแก่-อ่อนทุเรียน กล่าวว่าที่ผ่านมาการเก็บทุเรียนเกษตรกรชาวสวนอาศัยประสบการณ์ดูสีผลทุเรียน แล้วกรีดดูภายในผลทุเรียนว่ามีความพอดีในการเก็บหรือไม่ แล้วนำไปเปรียบเทียบกับผลอื่นๆ เพื่อทำการเก็บ หรืออาศัยการเคาะฟังเสียง ซึ่งเครื่องที่นักศึกษาประดิษฐ์ขึ้นมานี้จะช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องกรีดผลทุุเรียน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทุเรียน ซึ่งภาพรวมถือว่้าเป็นผลดีแก่เกษตรกร ที่ไม่ต้องปีนขึ้นเพื่อผูกเชือกแต้มสีหมายให้ทราบว่าทุเรียนลูกไหนเกิดก่อนเกิดหลัง นายคฑาชัยยังได้ขอบคุณผู้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องนี้ขึ้นมา โดยจะช่วยให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนสะดวกในการเลือกตัดเก็บผลทุเรียน

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here